วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหนาแน่น

ความหนาแน่น
ความหนาแน่น หาได้จาก ปริมาณมวลสารในหนึ่งหน่วยปริมาตร

Ρ คือ ความหนาแน่น มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
m คือ มวล มีหน่วยเป็น กิโลกรัม
V คือ ปริมาตร มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร
 
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ คือ อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสาร กับความหนาแน่นของสารอ้างอิง
* นิยมใช้น้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นสารอ้างอิง
* ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1.000 x 103 กิโลกรัมต่อลุกบาศก์เมตร

ของไหล

สมบัติของไหลในอุดมคติ

สมบัติของไหลในอุดมคติ
1. มีการไหลอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออนุภาคไหลผ่านมาถึงจุดเดียวกันจะมีอัตราเร็วเท่ากัน
2. ของไหลจะไหลโดยไม่หมุน
3. ไม่มีแรงต้านเนื่องจากความหนืดภายในเนื้อของไหล
4. ของไหลมีปริมาตรคงตัว นั่นคือ มีความหนาแน่นคงที่ตลอด
** ของไหลที่ไหลสม่ำเสมอ อนุภาคของของไหลแต่ละอนุภาคจะเคลื่อนที่ไปตามสายกระแสแต่ละสาย โดยสายกระแสจะไม่ตัดกันเลย และเรียกมัดของสายกระแสว่า " หลอดการไหล "
** เมื่อพื้นที่หน้าตัดเล็ก สายกระแสจะอยู่ชิดกัน และเมื่อพื้นที่หน้าตัดใหญ่ สายกระแสจะอยู่ห่างกัน
อัตราการไหล
"เมื่อของเหลว ไหลไปตามหลอดการไหล มวลของของเหลวที่ไหลผ่านที่ตำแหน่งใดๆ ใน 1 วินาที จะมีค่าคงที่เสมอ"
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อที่ตั้งฉากกับของไหล
v คือ ความเร็วของของไหล
Av คือ อัตราการไหล
 
** เมื่อพื้นที่หน้าตัดเล็ก จะมีความเร็วมาก เมื่อมีพื้นที่หน้าตัดใหญ่ จะมีความเร็วน้อย

ความหนืด

ความหนืด
วัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลว จะเคลื่อนที่ได้ยากกว่าเมื่อเคลื่อนที่ในอากาศ และยิ่งของเหลวเหนียวหรือข้นมากๆ วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ยากขึ้น เพราะมีแรงต้านจากของเหลวมาก ซึ่งเรียกว่า แรงหนืด และเรียกสมบัติของของเหลวที่จะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลวนั้นว่า ความหนืด
สำหรับวัตถุทรงกลมรัศมี r ที่เคลื่อนที่ในของเหลวจะมีแรงหนืดต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นตลอดเวลา โดย แรงแปรผันตรงกับอัตราเร็วของวัตถุ
f = แรงหนืด (N)
η คือ สัมประสิทธิ์ความหนืดของของไหล
r คือ รัศมีทรงกลม (m)
v คือ อัตราเร็วของวัตถุ (m/s)
** ความหนืดจะมีค่าลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
** วัตถุเคลื่อนที่ในของเหลวชนิดหนึ่งด้วยความเร็วมาก (v มาก) จะมีแรงหนืดต้านการเคลื่อนที่มาก
เมื่อปล่อยลูกเหล็กกลมให้เคลื่อนที่ในน้ำมันที่บรรจุในกระบอกตวง เขียนกราฟระหว่าง ความเร็วกับเวลา ได้ดังนี้

** เมื่อเริ่มปล่อยวัตถุ (v=0) จะมีแต่ mg และ B (แรงลอยตัว) เท่านั้น ไม่มีแรงหนืดมาต้านการเคลื่อนที่จึงมีแรงเหลือมาก วัตถุจึงมีความเร่งมาก
** เมื่อวัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้น จะมีแรงหนืดต้านการเคลื่อนที่มากขึ้น แรงลัพธ์จึงน้อยลง วัตถุจึงมีความเร่งลดลงเรื่อยๆ
** เมื่อวัตถุมีความเร็วค่าหนึ่ง แรงหนืดจะมากพอที่จะหักล้างแรงฉุดทั้งหมด ทำให้ แรงลัพธ์เป็นศูนย์ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ และเรียกความเร็วขณะนั้นว่า ความเร็วปลาย (Terminal velocity)
สรุป : Terminal velocity คือ ความเร็วของวัตถุเมื่อแรงลัพธ์เป็นศูนย์ วัตถุจึงมีความเร็วคงที่
** ของเหลวที่มีความหนืดมากจะเคลื่อนที่ได้ยาก ความหนืดน้อยจะเคลื่อนที่ได้ง่าย

ความตึงผิว


* ความตึงผิวจะมีค่าลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
* ถ้าเป็นเหรียญ จะมีผิวสัมผัสกับวัตถุเพียงด้านเดียว
* ถ้าเป็นเส้นลวด ห่วงลวด จะมีผิวของเหลว สัมผัสวัตถุทั้ง 2 ด้าน

แรงตึงผิวของของเหลว คือ แรงที่พยายามยึดผิวของเหลวไว้ มีทิศขนานผิวของเหลว และตั้งฉากกับเส้นขอบของวัตถุ

ในของไหลทุกชนิดจะมีคุณสมบัติของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2 ชนิด คือ
1. แรงยึดติด (Cohesive Forces) คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลขอลเหลวกับผิวภาชนะ
2. แรงเชื่อมแน่น (Adhesive force) คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลวดว้ยกัน
* น้ำ มีแรงยึดติด > แรงเชื่อมแน่น
* ปรอท มีแรงเชื่อมแน่น > แรงยึดติด

ปรากฏการณ์ของแรงตึงผิว
การซึมตามรูเล็ก คือ ปรากฏการณ์ที่ของไหลที่สัมผัสกับวัตถุแล้วมีลักษณะสูงขึ้นหรือต่ำลง เนื่องมาจากอิทธิพลของแรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่น
เช่น บริเวณที่น้ำสัมผัสกับผิวแก้ว จะมีระดับน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโมเลกุลของแก้วมีมากกว่าแรงเชื่อมแน่นระหว่าง
โมเลกุลของน้ำ แต่ถ้าเป็นบริเวณที่ปรอทสัมผัสกับผิวแก้ว ระดับปรอทจะต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของปรอทมีมากกว่าแรงยึด
ติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับโมเลกุลของแก้ว

เครื่องอัดไฮดรอลิก

เมื่อเพิ่มความดัน ณ ตำแหน่งใดๆ ในของเหลวที่อยู่นิ่งในภาชนะปิด ความดันที่เพิ่มขึ้นจะถูกส่งผ่านไปยังทุกๆ จุดในของเหลวนั้น "
หลักการนี้เรียกว่า กฎของพาสคัล (Pascal 's law) กฎของพาสคัลใช้อธิบายการทำงานของเครื่องกลผ่อนแรง เช่น เครื่องอัดไฮดรอลิก

เครื่องอัดไฮดรอลิก ประกอบด้วยกระบอกสูบและลูกสูบ 2 ชุดเชื่อมถึงกัน ภายในกระบอกสูบนี้บรรจุของเหลวไว้ เมื่อออกแรงที่ลูกสูบเล็กทำให้เกิดความ
ดันตามกฎของพาสคัล ความดัน นี้จะไปปรากฏที่ลูกสูบใหญ่ด้วย เครื่องอัดไฮดรอลิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงชนิดหนึ่ง



a คือ พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบเล็ก
A คือ พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบใหญ่
W คือ น้ำหนักที่กดลงบนลูกสูบใหญ่
F คือ แรงที่กดลงบนลูกสูบเล็ก

แรงลอยตัวและหลักของอะคิมีดีส

ขณะที่ปลาอยู่ในน้ำ ความดันน้ำจะทำให้มีแรงของน้ำกระทำต่อตัวปลา โดยเมื่อรวมแรงทุกแรงแล้ว แรงลัพธ์ที่กระทำต่อด้านล่างของตัวปลาในทิศขึ้นจะมีขนาดมากกว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อด้านบนของตัวปลาในทิศลง เพราะความดันของน้ำที่ส่วนล่างมีค่ามากกว่าความดันของน้ำที่ส่วนบน ดังนั้น การรวมแรงทั้งหมดที่น้ำกระทำต่อตัวปลาจึงเป็นแรงลัพธ์ของแรงดังกล่าวที่มีทิศขึ้น เรียกแรงลัพธ์นี้ว่า แรงลอยตัว (FB )

ที่มารูปภาพ : http://www.thaigoodview.com/files/u17196/archimedes.gif

อาร์คิมีดีส (Archimedes) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นผู้ค้นพบธรรมชาติของแรงลอยตัว และได้เสนอหลักการเกี่ยวกับการลอยและการจมของวัตถุซึ่งเรียกว่า หลักของอาร์คิมีดีส (Archimedes' principle) ดังนี้
" วัตถุที่จมในของเหลวหมดทั้งก้อนหรือจมแต่เพียงบางส่วน จะถูกแรงลอยตัวกระทำ
และแรงลอยตัวจะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ "

หลักของอาร์คิมีดีสจึงอาจเขียนได้ดังนี้
ในกรณีวัตถุจม ขนาดแรงลอยตัว = ขนาดน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุ
ในกรณีวัตถุลอย ขนาดแรงลอยตัว = ขนาดน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จมในของเหลว

* * เราสามารถนำความรู้เรื่องแรงลอยตัวไปอธิบายสมบัติต่างๆ ของของเหลวได้ และสามารถสรุปเป็นหลักทั่วไปได้ว่า
" เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลวจะมีแรงลอยตัวกระทำเนื่องจากของเหลวนั้นส่งความดันกระทำต่อวัตถุเสมอ "
 

อะคีมิดิส

เอ่ยชื่ออาร์คิมีดีส ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักนามของนักวิทยาศาสตร์เอกผู้นี้ โดยเฉพาะกฎเกี่ยวกับการหาความถ่วงจำเพาะของ
วัตถุ หรือการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมงกุฎทองของกษัตริย์เฮียโร (King Hiero) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบ
กับสิ่งประดิษฐ์ และการค้นพบของเขาในเรื่องอื่น เช่น ระหัดวิดน้ำ คานดีดคานงัด ล้อกับเพลา เป็นต้น อาร์คิมีดีสขึ้นชื่อว่าเป็นบิดา แห่งกลศาสตร์ที่แท้จริงเนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของเขามักจะเป็นเครื่องผ่อนแรงที่มีประโยชน์และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

         อาร์คิมีดีสเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก เกิดที่ เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) บนเกาะซิซิลี (Sicily) เมื่อประมาณ 287 ก่อนคริสต์
ศักราชบิดาของเขาเป็นนักดาราศาสตร์ชื่อ ไฟดาส (Pheidias) อาร์คิมีดีสมีความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก เขาจึง
เดินทางไปศึกษาวิชาคณิตศาสตร์กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์นามว่า ซีนอนแห่งซามอส ซึ่งก็เป็นลูกศิษย์คนเก่งของ
นักปราชญ์เลื่องชื่อลือนามว่า ยูคลิด (Euclid) ที่เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางแห่งวิชาการของ
กรีกในสมัยนั้น

         หลังจากที่อาร์คิมีดีส จบการศึกษาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของพระเจ้าเฮียโร งานชิ้นเอก
ที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือกฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) หรือ วิธีการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ (Specific
Gravity) ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นจากกษัตริย์เฮียโรทรงมีรับสั่งให้ช่างทำมงกุฎทองคำ โดยมอบทองคำให้ช่างทองจำนวนหนึ่ง เมื่อช่างทอง
นำมงกุฎมาถวาย ทรงเกิดความระแวงในท่าทางของช่างทำทองว่าจะยักยอกทองคำไป และนำโลหะชนิดอื่นมาผสม แต่ทรงไม่
สามารถหาวิธีพิสูจน์ได้ ดังนั้นจึงทรงมอบหมายหน้าที่ การค้นหาข้อเท็จจริงให้กับอาร์คิมีดีส ขั้นแรกอาร์คิมีดีสได้นำมงกุฎทองไป
ชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าน้ำหนักของมงกุฎเท่ากับทองที่กษัตริย์เฮียโรได้มอบให้ไป ซึ่งช่างทองอาจจะนำโลหะชนิดอื่นมาผสมลงไปได้ อาร์คิมีดีสครุ่นคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกสักที จนวันหนึ่งเขาไปอาบน้ำที่อ่างอาบน้ำสาธารณะแห่งหนึ่ง ขณะที่น้ำในอ่างเต็ม อาร์คิมีดีสลง
แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ น้ำก็ล้นออกมาจากอ่างนั้น เมื่อเขาเห็นเช่นนั้นทำให้เขารู้วิธีพิสูจน์น้ำหนักของทองได้สำเร็จ ด้วยความดีใจเขาจึง
รีบวิ่งกลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้สวมเสื้อผ้า ปากก็ร้องไปว่า "ยูเรก้า! ยูเรด้า! (Eureka)" จนกระทั่งถึงบ้าน เมื่อถึงบ้านเขารีบนำมงกุฎ
มาผูกเชือกแล้วหย่อนลงในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่เต็ม แล้วรองน้ำที่ล้นออกมาจากอ่าง จากนั้นจึงนำทองในปริมาตรที่เท่ากันกับมงกุฎหย่อน ลงในอ่างน้ำ แล้วทำเช่นเดียวกับครั้งแรก จากนั้นเขาได้นำเงินในปริมาตรที่เท่ากับมงกุฎ มาทำเช่นเดียวกับมงกุฎและทอง ผลการ
ทดสอบปรากฏว่า ปริมาตรน้ำที่ล้นออกมานั้น เงินมีปริมาตรน้ำมากที่สุด มงกุฎรองลงมา และทองน้อยที่สุด ซึ่งจากผลการทดลอง
ครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ช่างทองนำเงินมาผสมเพื่อทำมงกุฎแน่นอนมิฉะนั้นแล้วปริมาตรน้ำของมงกุฎและทองต้องเท่ากัน เพราะเป็น
โลหะชนิดเดียวกัน อาร์คิมีดีสได้นำความขึ้นกราบทูลกษัตริย์เฮียโรให้ ทรงทราบ อีกทั้งแสดงการทดลองให้ชมต่อหน้าพระพักตร์
เมื่อช่างทองเห็นดังนั้นก็รีบรับสารภาพแล้วนำทองมาคืนให้กับกษัตริย์เฮียโรการค้นพบครั้งนี้ของอาร์คิมีดีส ได้ตั้งเป็นกฎชื่อว่ากฎ
ของอาร์คิมีดีส ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำหลักการเช่นเดียวกันนี้มาหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุต่าง ๆ

         อาร์คิมีดีสไม่เพียงแต่พบวิธีหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุได้เท่านั้น งานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือ การสร้างระหัดวิดน้ำ หรือ
ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระหัดเกลียวของอาร์คิมีดีส (Archimedes Screw)" เพื่อใช้สำหรับวิดน้ำขึ้นมาจากบ่อหรือแม่น้ำ
สำหรับใช้ใน การอุปโภคหรือบริโภค ซึ่งทำให้เสียแรงและเวลาน้อยลงไปอย่างมาก การที่อาร์คิมีดีสคิดสร้างระหัดวิดน้ำขึ้นมานั้น
ก็เพราะเขาเห็นความลำบากของชาวเมืองในการนำน้ำขึ้นจากบ่อหรือแม่น้ำมาใช้ ซึ่งต้องใช้แรงและเสียเวลาอย่างมาก ระหัดวิดน้ำ
ของอาร์คิมีดีสประกอบ ไปด้วยท่อทรงกระบอกขนาดใหญ่ภายในเป็นแกนระหัด มีลักษณะคล้ายกับดอกสว่าน เมื่อต้องการใช้น้ำ
ก็หมุนที่ด้ามจับระหัดน้ำก็จะไหลขึ้นมาตามเกลียวระหัดนั้น ซึ่งต่อมามีผู้ดัดแปลงนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น
การลำเลียงถ่านหินเข้าสู่เตา และนำเถ้าออกจากเตา การบดเนื้อสัตว์ เป็นต้น

         นอกจากนี้อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงขึ้นอีกหลายชิ้น เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชาวเมือง ได้แก่ คานดีด
คานงัด (Law of Lever) ใช้สำหรับในการยกของที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ใช้ไม้คานยาวอันหนึ่ง และหาจุดรอง
รับคานหรือจุดฟัลครัม (Fulcrum) ซึ่งเมื่อวางของบนปลายไม้ด้านหนึ่ง และออกแรงกดปลายอีกด้านหนึ่ง ก็จะสามารถยกของ
ที่มีน้ำหนักมากได้อย่างสบาย

         นอกจากคานดีดคานงัดแล้ว อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์รอก ซึ่งเป็นเครื่องกลสำหรับยกของหนักอีกชนิดหนึ่ง เครื่องกลผ่อนแรง
ทั้งสองชนิดนี้ อาร์คิมีดีสคิดค้นเพื่อกะลาสีเรือหลวงที่ต้องยกของหนักเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส
มีอีกหลายอย่าง ได้แก่ รอกพวง ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับรอกและล้อกับเพลา ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนัก
มาก เช่น ก้อนหิน เป็นต้น เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีสถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชากลศาสตร์ และยังเป็นที่นิยมใช้กัน
มาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งได้มีการนำเครื่องกลผ่อนแรงเหล่านี้มาเป็นต้นแบบเครื่องกลที่สำคัญในปัจจุบัน เช่น ล้อกับเพลา มาใช้
ประโยชน์ในการขับเคลื่อนของรถยนต์ เป็นต้น อาร์คิมีดีสไม่ได้เพียงแต่สร้างเครื่องกลผ่อนแรงเท่านั้น เขายังมีความชำนาญ
เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

         เขาสามารถคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอกได้ โดยใช้สูตรทางคณิตศษสตร์ที่เขาเป็นคน
คิดค้นขึ้น และหาค่าของ p ซึ่งใช้ในการหาพื้นที่ของวงกลม ในปี 212 ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพโรมันยกทัพเข้าตีเมืองไซราคิวส์
โดยยกทัพเรือมาปิดล้อมเกาะไซราคิวส์ไว้ อาร์คิมีดีสมีฐานะนักปราชญ์ประจำราชสำนัก จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพบัญชา
การรบป้องกัน บ้านเมืองครั้งนี้ อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์อาวุธขึ้นหลายชิ้นในการต่อสู้ครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน โดยอาศัยหลักการ
ของคานดีดคานงัด เครื่องเหวี่ยงหินของอาร์คิมีดีสสามารถเหวี่ยงก้อนหินข้ามกำแพงไปถูกเรือของกองทัพโรมันเสียหายไปหลายลำ

         อาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ อาร์คิมีดีสประดิษฐ์ขึ้น คือ โลหะขัดเงามีลักษณะคล้ายกระจกเว้าสะท้อนแสงให้มีจุดรวมความร้อนที่
สามารถทำให้เรือของกองทัพโรมัน ไหม้ไฟได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องกลอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับตอรืปิโดในปัจจุบัน เรียกว่า
"เครื่องกลส่งท่อนไม้" ซึ่งใช้ส่งท่อนไม้ขนาดใหญ่ด้วยกำลังแรงให้แล่นไปในน้ำ เพื่อทำลายเรือข้าศึก กองทัพโรมันใช้เวลานานถึง
3 ปี กว่าจะยึดเมืองไซราคิวส์ได้สำเร็จ แต่มิได้แพ้เพราะกำลังหรือสติปัญญา แต่แพ้เนื่องจากความประมาท ด้วยในขณะนั้นภาย
ในเมืองไซราคิวส์กำลังเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน เมื่อตีเมืองไซราคิวส์สำเร็จ แม่ทัพโรมัน มาร์เซลลัส (Marcellus) ได้สั่ง
ให้ทหารนำตัวอาร์คิมีดีสไปพบเนื่องจากชื่นชมในความสามารถของอาร์คิมีดีสเป็นอย่างมาก ในขณะที่ตามหาอาร์คิมีดีส ทหาร
ได้พบกับอาร์คิมีดีสกำลังใช้ปลายไม้ขีดเขียนบางอย่างอยู่บนพื้นทราย แต่ทหารผู้นั้นไม่รู้จักอาร์คิมีดีส เมื่อทหารเข้าไปถามหา
อาร์คิมีดีสเขากลับตวาด ทำให้ทะเลาะวิวาทกัน ทหารผู้นั้นใช้ดาบแทงอาร์คิมีดีสจนเสียชีวิต เมื่ออาร์เซลลัสทราบเรื่องก็เสียใจ
เป็นอย่างมากที่ต้องสูญเสียนักปราชญ์ที่มีความสามารถ อย่างอาร์คิมีดีสไป ดังนั้นเขาจึงรับอุปการะครอบครัวของอาร์คิมีดีสและ
สร้างอนุสาวรีย์ เพื่อให้ระลึกถึงความสามารถของอาร์คิมีดีส อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะรูปทรงกลมอยู่ในทรงกระบอก

        จากผลงานการประดิษฐ์เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีประโยชน์
อย่างมหาศาลทั้งในอดีตและปัจจุบัน

Pascal

ชื่อเต็ม ๆ ว่า Blaise Pascal ปาสคาลไม่ใช่ผู้พัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชื่อภาษาปาสคาล ปาสคาลเกิดวันที่ 16 เดือนมิถุนายน ปีค.ศ. 1623 ที่ประเทศ ฝรั่งเศส ช่วงที่ปาสคาลยังมีชีวิตอยู่มีระยะเวลากว่า 300 ร้อยปีก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ ดร.เวียตผู้พัฒนาภาษาปาสคาลได้ตั้งชื่อภาษาให้เป็นเกียรติแก่ ่ปาสคาล ทั้งนี้เพราะปาสคาลเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งในยุคการพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรตที่ 16-17 ปาสคาลเป็นผู้มีจินตนาการและความคิดที่ กว้างไกล ปาสคาลได้ศึกษาแนวคิดของยูคลิดในเรื่อง Elements ในช่วงอายุยังวัยเยาว์ เขาทำความเข้าใจหลักและทฤษฎีหลายอย่างของยูคลิดได้ก่อนอายุ 12 ปี นอกจากนี้เขามีความสนใจในเรื่องวิชาฟิสิกส์โดยเฉพาะในเรื่องของเหลวและแรงดันของเหลวโดยนำหลักการของ อาร์คีมีดีส มาใช้ จนในที่สุดเขานำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องจักรไฮดรอลิกที่มีประโยชน์อย่างมากในการยกน้ำหนักและยังได้ อธิบายหลักการของความดันของเหลว
       พ่อของปาสคาลทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บภาษีให้รัฐบาลฝรั่งเศสครอบครัวของเขาจึงต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขของเงิน ทองจำนวนมากด้วยความติดที่อยากจะหาเครื่องจักรเข้ามาช่วยเป็นเครื่องคำนวณคิดเลขเขาได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขแบบ กลไกขึ้น เขาใช้เวลาถึง 3 ปีในการประดิษฐ์ และสร้างขึ้นมาใช้งาน และประสบผลสำเร็จด้วยดี

       ปาสคาลแสดงให้เห็นความเป็นคนช่างคิด และพัฒนาอย่างดียิ่งเพียงเมื่อเขามีอายุได้ 16 ปีปาสคาลได้เสนอผลงงานวิจัย ในบทความที่เขานำเสนอ ได้แก่ "Essay on Conic Sections" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปตัดกรวยที่แสดงการวิเคราะห์ ์เชิงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ต่อมาปาสคาลได้มีโอกาสศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงขึ้นกับแฟร์มาตโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องรากฐานแคลคูลัส และทฤษฎีความน่าจะเป็น  ผลงานอย่างหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือ สามเหลี่ยมปาสคาล ซึ่งเป็นตัวเลขที่จัดทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับตัวเลขเหล่านี้อยู่มาก

Bernoulli

daniel bernoulli (พ.ศ.2243-2325) เป็นนักฟิสิกส์ชาวสวิส เกิดในตระกูลนักคณิตศาสตร์ แต่เขาเป็นเพียงคนเดียวของครอบครัวที่สนใจฟิสิกส์ ผลงานที่สำคัญของเขาคือ หนังสือชื่อ hydrodynamica ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ.1738 ซึ่งกล่าวถึง สมดุล ความดันและอัตราการไหลของของไหล เขาได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าระดับการไหลไม่เปลี่ยนเมื่ออัตราเร็วของของไหลงเพิ่มขึ้น ความดันของของไหลจะลดลง หนังสือของเขายังได้อธิบายถึงพฤติกรรมของแก็ส เมื่ออุณหภูมิและความดันของแก็สเปลี่ยนเป็นครั้งแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีจลน์ของแก็ส

สรุปสูตรฟิสิกส์ ม.4

สูตรที่จะนำมาวนใช้
s=ut+1/2atกำลัง2
Ek=1/2mvกำลัง2
Ep=mgh
Eps=1/2kxกำลัง2
W=FS
กฎของนิวตัน สามารถประยุกต์ได้หลายเรื่อง
ความดัน ของไหล ฯลฯ